You are currently viewing นิ้วล็อค (Trigger Finger)

นิ้วล็อค (Trigger Finger)

นิ้วล็อค (Trigger Finger) เกิดจากอะไร?

– เกิดจากการใช้งานซ้ำ ในท่ากำมือแน่นๆ 
– กำ และแบมือบ่อยๆ 

กลไกการเกิดนิ้วล็อค…

  1. เกิดการเสียดสีระหว่างเอ็นของนิ้ว และเอ็นของกระดูก จนเกิดการหนาตัวของเส้นเอ็น
  2. เข้าสู่กระบวนการอักเสบของเอ็นทำให้เกิดอาการปวดและบวมของนิ้ว
  3. เริ่มเกิดการยึดติดระหว่างข้อนิ้วกำและแบมือไม่ถนัด

 

 

 

กลุ่มเสี่ยงที่อาจจะเป็น นิ้วล็อค (Trigger Finger)

  1. แม่บ้าน เชฟ พนักงานทำความสะอาด พนักงานออฟฟิศ พนักงานโรงงานอุตส่าหกรรม ที่ต้องใช้มือและนิ้ว
  2. โรคประจำตัวบางชนิด เช่น เก๊าท์ (Gout), รูมาตอยด์ (Rheumatoid) เป็นต้น
  3. ข้อนิ้วและมือผิดรูป อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์หรือการใช้งาน

การรักษาทางกายภาพบำบัด

 

 

สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ

  1. การใช้มือในการรักษา ไม่ว่าจะเป็น Mobilization, Deep Friction, Visceral Manipulation, Lymphatic Drainage and Myofascial released
  2. การรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวดและลดการอักเสบ เช่น Ultrasound Therapy, LASER Therapy, Shockwave Therapy and Electrical Stimulation
  3. Strengthening and Stretching Exercise

 

 

 

การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching Exercise)

  • เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นสาเหตุหลักในการทำให้เกิดนิ้วล็อค

วิธีการยืดกล้ามเนื้อ

ท่าที่ 1 : ยื่นแขนออกไปด้านหน้าและหงายมือ ใช้มืออีกข้างกดมือลงให้รู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ ค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

ท่าที่ 2 : ยื่นแขนออกไปด้านหน้าและคว่ำมือ ใช้มืออีกข้างกดมือลงให้รู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ ค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

 

 

 

การออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Intrinsic Muscle Exercise) สำหรับนิ้วล็อค (Trigger Finger)

    มีด้วยการหลากหลายรูปแบบ จำเป็นต้องออกกำลังกายตามภาพ เนื่องจาก ช่วยส่งเสริมการสมานแผล และกลศาสตร์ในการเคลื่อนไหวที่ดีของมือและนิ้ว และช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดซ้ำได้

อุปกรณ์ : ยางยืด ดินน้ำมัน ลูกบอล
จำนวนครั้ง : 10-15 ครั้ง/รอบ
จำนวนรอบ : 3-5 รอบ

Leave a Reply