รู้หรือไม่? สิทธิบัตรทองสามารถเข้ารับกายภาพบำบัดได้ 4 กลุ่มโรค ดังต่อไปนี้

รู้หรือไม่? สิทธิบัตรทองสามารถเข้ารับกายภาพบำบัดได้ 4 กลุ่มโรค ดังต่อไปนี้1. กลุ่มโรคหลอดเลือดสมอง (หลอดเลือดสมองตีบ หรือ แตก)2. โรคสมองบาดเจ็บ (จากประสบอุบัติเหตุ, ผ่าตัดสมอง)3. โรคเนื้อไขสันหลังได้รับการบาดเจ็บ (จากประสบอุบัติเหตุ, ผ่าตัดไขสันหลัง)4. กระดูกข้อสะโพกหักจากภยันตรายไม่รุนแรง ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป.เงื่อนไขการเข้ารับการรักษา1. อยู่ใน 4 กลุ่มโรค2. ออกจากโรงพยาบาลต้นสังกัดไม่เกิน 6 เดือน3. ไม่มีค่าใช้จ่ายในการรักษา 20 ครั้ง4. เฉพาะคลินิกกายภาพบำบัดที่เข้าร่วม.ดูรายชื่อคลินิกกายภาพบำบัดชุมชนอบอุ่นที่เข้าร่วมได้ที่ https://www.nhso.go.th/page/therapy-clinicหรือ…

นวดแล้วทำไมปวดกว่าเดิม?

นวดแล้วทำไมปวดกว่าเดิม?.จากเรื่อง #จุดกดเจ็บกล้ามเนื้อ (Trigger Point) ส่วนใหญ่จะดูแลตนเองด้วยการ #นวดคลายกล้ามเนื้อ แล้วเคยเป็นไหมคะ ยิ่งนวด ยิ่งปวดระบมมากขึ้น และไม่หายขาดสักที สาเหตุเป็นเพราะว่า จุดที่ปวดมีของเสียสะสมมาก หากนวดเกินพอดีส่งผลให้เกิดบาดเจ็บเพิ่ม ในบางรายมีอาการบวมแดงมากกว่าเดิม หรือเกิดรอยฟกช้ำเขียวได้ ในกรณีให้มีผู้อื่นนวดให้การสื่อสารความหนักเบาของการนวดว่ามาก-น้อย รู้สึกสบายหรือปวดมากกว่าเดิม(ปัจจัยคือ ความหนาบางของกล้ามเนื้อ ความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อ (ผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะแข็งแรงกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย).ในกรณีนวดตนเองเริ่มจากน้ำหนักเบาก่อน อาจใช้ยาร่วมด้วยขึ้นกับสาเหตุอาการปวดนวดแล้วอาการแย่ลงควรหยุดนวดและประคบเย็นเพื่อป้องกันการอักเสบ/บาดเจ็บเพิ่ม.#เช่นเดิม หากอาการไม่ดีขึ้น ปวดระบมมากขึ้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญนะคะ.#ตั้งใจรักษ์คลินิกกายภาพบำบัด #คลินิกกายภาพบำบัด #คลินิกกายภาพบำบัด #พุทธมณฑลสาย2 #รักษาอาการปวด #คลินิกกายภาพบำบัดพุทธมณฑลสาย2 #TriggerPoint #MusclePain…

ความสำคัญของการพักเมื่อได้รับบาดเจ็บ

หลายคนเวลาเกิดอาการบาดเจ็บรีบร้อนอยากหายไว ๆ แต่บุคคลากรทางการแพทย์บอกว่าให้พักการใช้งานก่อนอาจจะรู้สึกไม่พอใจ ไม่สบายตัวใช่ไหมคะ แต่อันที่จริงแล้วเหตุผลที่ต้องให้พักสาเหตุก็เพราะว่า ร่างกายเรามีกระบวนการสมานแผลที่ซับซ้อนและหลายขั้นตอน.โดยความสำคัญของการพักนั้น จะทำให้ลดอัตราเสี่ยงการบาดเจ็บซ้ำ ลดอัตราเสี่ยงเซลล์เนื้อเยื่อไม่แข็งแรง และเพิ่มโอกาสในการกลับไปใช้งานได้ปกติอีกด้วย ทีนี้กระบวนการสมานแผลของเราเป็นอย่างไรบ้างลองมาอ่านกันค่ะ.กระบวนการสมานแผลและการดูแลแต่ละระยะของการสมานแผลมีอะไรบ้าง(ในที่นี้ขออธิบายโดยรวมไม่แบ่งแยกเนื้อเยื่อก่อนนะคะ)ระยะที่ 1 ระยะห้ามเลือด หลอดเลือดจะหดตัวมีการส่งสารเคมีมาบริเวณนี้จำนวนมาก ผู้ป่วยไม่ควรเคลื่อนไหวบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บระยะที่ 2 ระยะอักเสบ มีอาการปวดมาก เริ่มเคลื่อนไหวได้โดยไม่มีน้ำหนัก องศาการเคลื่อนไหวขึ้นกับความรุนแรงของการบาดเจ็บระยะที่ 3 ระยะการเพิ่มจำนวนเซลล์ เคลื่อนไหวได้โดยมีน้ำหนักบางส่วน ควรเคลื่อนไหวได้เต็มช่วงระยะที่ 4 ขั้นตอนสุดท้ายระยะการเจริญเต็มที่ เคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงปกติ*ในกรณีกระดูกหัก การพักฟื้นหลังผ่าตัด กระบวนการทั้งหมดนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปขึ้นกับปัจจัยแต่ละบุคคล หากการฟื้นตัวไม่เป็นไปตามกระบวนการดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำ…

End of content

No more pages to load