You are currently viewing ภาวะกดเบียดในข้อไหล่

ภาวะกดเบียดในข้อไหล่

ภาวะกดเบียดในข้อไหล่ (Shoulder Impingement Syndrome)

 

    เป็นกลุ่มอาการที่สามารถพบได้บ่อย ในบุคคลทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ต้องยกแขนสูงบ่อยๆ เช่น

  1. อาชีพครู/อาจารย์ ที่ต้องยกแขนเพื่อเขียนกระดาน ใช้ไม้ในการชี้กระดาน เป็นต้น
  2. ผู้ที่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถสองแถว รถเมล์ (BUS) รถไฟฟ้า (BTS) รถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) ที่จำเป็นต้องยืนและโหนบาร์
  3. ผู้ที่ชื่นชอบเล่นกีฬา เช่น แบตมินตัน เทนนิส ว่ายน้ำ กอล์ฟ ปิงปอง 
  4. พนักงานโรงงาน ทีต้องยกแขนเหนือศรีษะเพื่อทำการยกของ หยิบจับสินค้า หรือเคลื่อนย้ายสินค้าซ้ำๆ บ่อยๆ
  5. เกษตรกร ที่ทำไร่/ทำสวน ประเภทต้นไม้สูง เช่น ไร่ส้ม ไร่ทะเรียน ไร่มะม่วง ไร่องุ่น เป็นต้น อาจจะต้องใช้แขนในการยกขึ้นเหนือศรีษะเพื่อเก็บผลผลิต
  6. ผู้ที่ชื่นชอบในการเต้น ไม่ว่าจะ รำไทย Cover dance หรือ บัลเลห์ 
  7. วิศวกร/ สถาปนิก ทีต้องทำการตรวจงานตามไซต์งาน ก็ล้วนมีความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการกดเบียดภายในข้อไหล่ทั้งสิ้น

กลไกการเกิดการบาดเจ็บ (Patho-biomechanics)

สามารถแบ่งกลไกการบาดเจ็บได้ออกเป็น 3 รูปแบบ

  1. ขาดการควบคุมกระดูกหัวไหล่ (Loss of control of the humeral head)
  2. ขาดการควบคุมกระดูกสะบัก (Loss of scapular control)
  3. มีการเปลี่ยนแปลงของขนาดภายในข้อไหล่ เช่น เอ็นกล้ามเนื้อ หรือถุงน้ำภายในข้อไหล่ (tendons of the RC muscles and subacromial bursae)
  • อาจจะเกิดจากการทำงานซ้ำๆ ของเอ็น ทำให้เอ็นหัวไหล่เกิดการบวมและอักเสบ แม้ว่าการเคลื่อนไหวของกระดูกจะเป็นไปตามปกติ แต่ถ้าหากเอ็นบวมก็สามารถส่งผลให้เกิด Shoulder Impingement Syndrome ได้ทั้งสิ้น

 

 

    ปัจจัยส่งเสริม ที่ทำให้เกิดกลุ่มอาการกดเบียดในข้อไหล่ มีด้วยกันหลายปัจจัย

  1. การทรงท่า (Body Posture) ไม่ว่าจะเป็นท่านั่ง ท่านอน ท่ายืน หรือท่าเดิน หากเป็นท่าทางที่ทำเป็นกิจวัตรประจำวัน เกิดความเคยชิน เช่น นั่งหลังค่อม ผู้หญิงที่มีหน้าอกมีพฤติกรรมชอบนั่งห่อไหล่ เป็นต้น ก็สามารถส่งเสริมทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้ทั้งสิ้น
  2. การทำงานของกล้ามเนื้อที่ขาดความสมดุล (Muscle Imbalance) อันเนื่องมาจาก ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม หรือเกิดการทำงานทดแทนของกล้ามเนื้อ เพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย (ตัวอย่าง ดังภาพด้านซ้ายมือ)
  3. เกิดจากโครงสร้างของกระดูก (Structural Problems) สามารถตรวจพบได้จากการ X-RAY/MRI ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบด้วยกัน (ดังภาพข้างล่าง)

วิธีการตรวจประเมินตนเองเบื้องต้น

การรักษาทางกายภาพบำบัด

               สามารถแบ่งเป้าหมายการรักษา
ได้ออกเป็น 2 รูปแบบ

  1. ลดอาการอักเสบ (Decreased Inflammation) ด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น Ultrasound Therapy, LASER Therapy และ/หรือ Shockwave Therapy (ในผู้ป่วยที่มีอาการบาดเจ็บเรื้อรังเกิน 2-3 ปี ขึ้นไป)
  2. การฟื้นฟูกล้ามเนื้อด้วยหัตถการ และการออกกำลังกายเพื่อการบำบัด (Manual Therapy and Rehabilitation Exercise)

             วันนี้ ทางตั้งใจรักษ์คลินิกก็ได้นำตัวอย่างการออกกำลังกายเบื้องต้นสำหรับท่านผู้อ่านได้ลองกลับไปทำตามดูครับ

  • ซึ่งถ้าหากคุณผู้อ่านลองทำตามแล้วมีอาการปวด ไม่ควรทำท่านั้นต่อนะครับ ควรหยุดพัก หากท่าออกกำลังกายท่าอื่น หรือสามารถ Inbox เข้ามาสอบถาม หรือขอคำแนะนำใน Fanpage : ตั้งใจรักษ์ คลินิกกายภาพบำบัด (@tangchairak.official) ได้เลยครับ

Leave a Reply