You are currently viewing รีวิวมาแล้ว 5 อันดับการบาดเจ็บจากกีฬาบาส

รีวิวมาแล้ว 5 อันดับการบาดเจ็บจากกีฬาบาส

basketball_ตั้งใจรักษ์ คลินิกกายภาพบำบัด2
หากใครกำลังสนใจกีฬาชนิดนี้อยู่ ลองมาอ่านกันดีค่ะว่าอาการบาดเจ็บที่พบได้บ่อย 5 อันดับแรกของกีฬาชนิดนี้คืออะไรบ้าง? แล้วเราจะสามารถป้องกันอาการบาดเจ็บนี้ได้อย่างไร
.
🦶อันดับที่ 1 ข้อเท้า (38.6%) โดยจากการศึกษาพบว่า นักกีฬาบาส มักเกิดข้อเท้าพลิกได้บ่อย อันเนื่องมาจากกีฬาชนิดนี้ต้องอาศัยความคล่องตัวในการเคลื่อนไหวในทิศทางต่าง ๆ รวมถึงการกระโดด ไม่ว่าจะเป็นการชู้ต-เลี้ยงลูกบาส ซึ่งทำให้โอกาสที่จะเกิดข้อเท้าพลิกนั้นมีมากขึ้น
.
🥾จะเห็นได้ว่ารองเท้าที่จำหน่ายตามตลาดของกีฬาชนิดนี้ จะมีการเพิ่มส่วนหุ้มข้อเท้าด้านบน เพื่อส่งเสริมการเล่นกีฬาได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น ดังนั้น หากใครที่กำลังเล่นกีฬานี้อย่างสม่ำเสมอ ขอแนะนำให้ซื้อรองเท้าสำหรับกีฬาบาสโดยเฉพาะ จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยทำให้การเล่นกีฬาชนิดนี้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นค่ะ
.
👤อันดับที่ 2 ศรีษะ/ใบหน้า/คอ (14.6%) หลายท่านอาจสงสัยว่า เอ๊ะ? ทำไมถึงส่วนนี้ของร่างกาย ส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากการรวมกลุ่มอวัยวะหลายส่วนเข้ามาด้วยกันทำให้สัดส่วนของอาการบาดเจ็บเทลงมาที่บริเวณนี้เยอะ แต่เหตุผลนึงที่ทำงานวิจัยมาแล้ว แล้วนักวิจัยค้นพบนั่นก็คือ ขณะเลี้ยงลูกบาสจะเกิดการก้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ซึ่งหากนักกีฬาต้องการชู้ตลูกบาสก็มีความจำเป็นจะต้องเงยหน้าขึ้น เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ซ้ำ ๆ จึงทำให้โครงสร้างกล้ามเนื้อและข้อที่ส่วนนี้เกิดอาการบาดเจ็บได้ง่าย
.
ส่วนบริเวณศรีษะและใบหน้า โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากอุบัติเหตุการชน-การกระแทก ไม่ว่าจะจากผู้เล่นในสนามหรือลูกบอลค่ะ
🦵อันดับที่ 3 เข่า (10.9%) ส่วนใหญ่เกิดจากการกระโดดจากการฝึกซ้อม ทำให้เกิดแรงกระแทกที่บริเวณด้านหน้าเข่าและเอ็นหัวเข่าด้านหน้า ซึ่งการป้องกันอาการบาดเจ็บที่เข่าจะลดน้อยลงได้ด้วยการฝึกสมรรถภาพร่างกายพื้นฐาน เช่น ความแข็งแรงกล้ามเนื้อ และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ในส่วนของรยางค์และแกนกลางลำตัว เป็นต้น
.
🫳 อันดับที่ 4 ข้อมือ-นิ้ว (7.4%) เกิดจากการกระแทกของลูกบอล การเลี้ยงบอล การฝึกชู้ตบอล
🦿 อันดับที่ 5 หน้าแข้ง (6.3%) เกิดจากการวิ่งด้วยความเร็ว หรือที่เรียกเรียกกันว่า shin splint และการกระแทก หรือการชนจากผู้เล่นในสนามด้วยกันเองค่ะ
.
เมื่่อรู้อย่างนี้แล้ว การป้องกันก็ไม่ยากเลย หากเราต้องการเล่นกีฬาด้วยความสนุกและปลอดภัย ควรเริ่มต้นจากฝึกสมรรถภาพร่างกายพื้นฐานทั่วไปให้แข็งแรง ในทางกลับกันหากอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นแล้วก็ควรจะฟื้นฟูให้ร่างกายกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติก่อนแล้วจึงกลับไปเล่นกีฬานะคะ สำคัญมาก!

Leave a Reply