เคยเป็นไหมคะเวลาไปปรึกษาอาการเจ็บป่วย แล้วไม่รู้จะเริ่มต้นบอกเล่าอาการที่เป็นอยู่อย่างไรดีว่าเรามีอาการเหล่านี้ ขอเสนอ 6 วิธีในการบอกเล่าอาการปวดให้หมอฟังค่า
- ปวดที่ไหน (Where): สิ่งสำคัญที่สุดเลยเมื่อมีอาการปวด สามารถบอกตำแหน่งได้ไปได้เลยค่ะ เช่น ปวดเข่า ปวดศอก ปวดคอ ปวดหลัง หรือหากไม่มั่นใจว่าปวดที่ไหนจะใช้นิ้วชี้ หรือมือลูบก็สามารถทำได้ค่า
- ปวดแบบไหน (Characteristic): เช่น ปวดตื้อ ปวดแหลม ปวดแสบ ปวดซ่า ปวดชา ฯลฯ รูปแบบของอาการปวดมีหลากหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบสามารถบ่งบอกถือที่มาของอาการปวดได้ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ เอ็นอักเสบ เส้นประสาท
- ปวดเท่าไหร่? (How much pain): ระดับของอาการปวดเป็นเกณฑ์ส่วนหนึ่งในการชี้วัดอาการบาดเจ็บ เพื่อประเมินก่อน-หลังได้รับการรักษา โดยวิธีประเมินจะใช้ตัวเลขเป็นเกณฑ์จาก 0-10 โดยมักจะดูร่วมกับสีหน้าของผู้ป่วยควบคู่กันไป เพราะเนื่องจากอาการปวดแต่ละคนไม่เท่ากัน ในผู้ป่วยบางรายให้อาการปวดหลัง 7/10 แต่สามารถก้มเงยได้อย่างอิสระ แสดงว่าผู้ป่วยรายนี้อาจจะปวดหลังเป็นครั้งแรก หรือไม่ชอบอาการปวดหลังนี้เอาซะเลย
- ปวดตั้งแต่เมื่อไหร่? (How long?): เช่น ปวดตั้งแต่เดือนไหน ปีไหน หรือพึ่งเป็นมาได้ไม่กี่วัน เพราะระยะเวลาที่เริ่มมีอาการปวดจะสามารถประเมินความเรื้อรังหรือระยะของอาการบาดเจ็บได้ โดยส่วนใหญ่ หากเป็นชาวออฟฟิศซินโดรม จะไม่สามารถระบุเวลาที่ชัดเจนได้ เนื่องจากอาการปวดที่เป็นอยู่เป็นๆ หายๆ และค่อยๆ เพิ่มขึ้น
- ปวดเมื่อไหร่ (When): อาการปวดที่เกิดจากการทำงานโดยทั่วไปแล้วจะสัมพันธ์กับช่วงเวลาในแต่ละวัน เช่น ตอนเริ่มทำงานไม่มีอาการปวดเลย แต่เมื่อทำงานไปสักพักหนึ่งแล้วจึงเริ่มมีอาการปวด และหากคุณเริ่มมีอาการปวดตอนระหว่างวัง แต่ไม่สัมพันธ์กับการทำงาน อาจบอกเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดเพิ่มขึ้น (โดยจะอธิบายในข้อถัดไป) ทั้งนี้ทั้งนั้น หากสามารถบอกได้ว่าอาการปวดเริ่มเป็นมาแล้วกี่วัน ก็จะสามารถคาดการณ์ระยะเวลาในการอักเสบได้เบื้องต้น เช่น อาจจะอยู่ในระยะเรื้อรัง เพราะว่าเป็นมานานแล้ว 3 เดือน เป็นต้น
*อาการปวดบางประเภท ถือเป็นสัญญาณบ่งบอกอาการอันตราย เช่น อาการปวดตอนกลางคืน (Night pain) อาจแสดงถึงอาการปวดของโรคร้ายอย่างมะเร็งก็เป็นได้
- ทำอะไรแล้วจึงปวด (What do you do?): อาการปวดทางกระดูกและกล้ามเนื้อโดยทั่วไปมักสัมพันธ์กับกิจกรรที่ผู้ป่วยทำ เช่น เดินนานเริ่มมีอาการปวดส้นเท้า นั่งนานเริ่มมีอาการปวดหลัง หรือละเอียดไปมากกว่านั้น นั่งขัดสมาธินาน 20 นาที ทำให้เกิดอาการชาสะโพก-ขา ซึ่งกิจกรรมในแต่ละประเภท
โดยทั้งหมด 5 หัวข้อนี้ อาจจะเห็นว่าเป็นรายละเอียดยิบย่อย ที่ผู้ป่วยอาจจะลืมนึกถึงไป และในบางครั้งก็เป็นทางออกของการป้องกัน/หลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น สาเหตุที่ทำให้ปวดเวลานั่งทำงานนาน เราอาจจะกำลังนั่งท่าที่ไม่เหมาะสมนานเกินไปหรือเปล่า? ถือว่าเป็นหนึ่งในวิธี Check lists ในการดูแลตนเอง
และท้ายที่สุด อาการปวด แต่ละคนไม่เท่ากัน และความรู้สึกที่มีต่ออาการปวดของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้นหากท่านกำลังสงสัยว่าอาการปวดนี้ควรทำอย่างไร รุนแรงแค่ไหน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์
อ้างอิง (Reference)
- Delgado, D. A., Lambert, B. S., Boutris, N., McCulloch, P. C., Robbins, A. B., Moreno, M. R., & Harris, J. D. (2018). Validation of Digital Visual Analog Scale Pain Scoring With a Traditional Paper-based Visual Analog Scale in Adults. Journal of the American Academy of Orthopaedic Surgeons. Global research & reviews, 2(3), e088. https://doi.org/10.5435/JAAOSGlobal-D-17-00088
- Jarred Younger, Rebecca McCue and Sean Mackey. Pain Outcomes: A Brief Review of Instruments and Techniques. Curr Pain Headache Rep. 2009 February ; 13(1): 39–43.
- Siddall PJ, Cousins MJ. Persistent pain as a disease entity: implications for clinical management. Anesth Analg. 2004;99(2):. doi:10.1213/01.ANE.0000133383.17666.3A