Neurokinetic Therapy (NKT) ถูกคิดค้นขึ้นโดย David Weinstock ตั้งแต่ปี 1985 – ปัจจุบัน โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับการเชื่อมต่อการทำงานระหว่างกล้ามเนื้อและสมองว่าเชื่อมต่อกันเป็นปกติหรือไม่ โดย David W. มีความความคิดที่ว่า หากเกิดการทำงานที่ไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ (ซึ่งได้รับสัญญาณการสั่งการจากสมอง) จะก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บ หรือการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแรง ในทางกลับกัน กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงมากกว่าปกติ ซึ่งก็อาจนำไปสู่การปวดตึงหลังได้ เป็นต้น
โดยการอบรมเกี่ยวกับหลักสูตรนี้ จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ตั้งแต่ Level 1 – Level 3 ในแต่ระดับขั้นจะมีเนื้อหาที่แตกต่างกันออกไป และเข้มข้นในทุกระดับที่ได้เรียน การประยุกต์แนวคิด NKT กับการรักษาคนไข้เป็นไปอย่างธรรมชาติ ถ้าถามทีมงาน ตั้งใจรักษ์ ว่า NKT คืออะไร? คงตอบได้เพียงสั้นๆ ว่า NKT สามารถทำให้เราเข้าใจการเชื่อมต่อการทำงานระหว่างกล้ามเนื้อ เป็นการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม และสามารถลงรายละเอียดเกี่ยวกับกล้ามเนื้อได้ว่า มัดใดมีปัญหาและเชื่อมโยงไปถึงพฤติกรรมใดๆ ที่ทำให้เกิดปัญหานั้นขึ้นอีก
การประยุกต์ใช้ (Integration)
กระบวนการในการคิดวิเคราะห์ปัญหา เริ่มต้นจากการตรวจประเมินร่างกายเพื่อหาสาเหตุของอาการปวด และให้การรักษา โดยการให้การรักษาจะทิ้งด้วย Home Massage หรือ การบ้าน ให้คนไข้ได้กลับไปทำ เพื่อปรับพฤติกรรมคนไข้ให้กลับมาเป็นปกติ เนื่องจากการทำงานของร่างกายต้องอาศัยการฝึกฝน เหมือนตอนเราเริ่มฝึกเขียนหนังสือ ตอนแรกเราคุมแรงมือไม่ได้เลย แต่พอเขียนทุกวันๆ สะสมไปวันละนิด วันละหน่อย ทำให้เราเขียนหนังสือได้ดี และในบางรายก็มีลายมือที่สวยถึงขั้นประกวดระดับชาติได้เลยทีเดียว
ตัวอย่างคนไข้ (Case Example)
คนไข้มีอาการกลืนลำบาก เวลากลืนแล้วรู้สึกว่าอาหารไม่สามารถไหลลงไปได้อย่างปกติ สิ่งที่ตรวจตามกรรมวิธีของ NKT คือ หลอดอาหารและหลอดลมเลื่อนไปทางด้านซ้าย โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เนื่องจากเป็นเช่นนี้มา มากกว่า 15 ปี จนคนไข้เข้าใจไปว่า ทุกคนน่าจะเป็นเช่นนี้เหมือนกับตน หลังจากตรวจประเมินและให้การรักษาด้วยการคลายกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืน (Omohyoid muscle) ทำให้ปัญหานี้หมดไป
*หมายเหตุ : แน่นอนว่าไม่ได้พบเคสลักษณะเช่นนี้บ่อยนักในการเดินมาที่คลินิกกายภาพบำบัด แต่เนื่องจากว่าเดิมที่คนไข้รายนี้มารักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง และได้เริ่มต้นการรักษาเนื่องจากนักกายภาพบำบัดได้ฟังประวัติ จึงเกิดความสงสัยและได้ทำการตรวจประเมินในที่สุด
ภาพความประทับใจในการได้เข้าร่วมอบรม
นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้วว่า NKT ดูความสัมพันธ์การทำงานของกล้ามเนื้อและสมอง แล้วกล้ามเนื้ออะไรบ้างที่สนใจ ต้องบอกเลยค่ะว่าทุกส่วน อันที่จริงแล้ว ไม่ใช่เพียงแค่กล้ามเนื้อที่ David W. สนใจเท่านั้น ยังรวมไปถึงพังผืด, แผลเป็น, ผิวหนัง, รอยสัก ฯลฯ และทั้งหมดที่ได้กล่าวไป ล้วนมีความเป็นไปได้ที่อาจก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บทั้งนั้น เพราะทุกอย่างมีเหตุและผลของการเกิดเสมอ ไม่แตกต่างจากหลักสัจธรรมที่ว่า กรรมคือที่มาของการกระทำ (Karma is Karma) เลยค่ะ
รอยสักเนี่ยนะ?? ใช่ค่อตอนแรกที่ได้เข้าร่วมการอบรมหลักสูตรนี้ก็ถามตัวเองเหมือนกันว่า บ้าไปแล้ว!!! แผลเป็นจะเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร?? แต่พอเห็นวิธีการในการตรวจประเมินเพื่อยืนยันเหตุผลนั้น ก็ทำให้เข้าใจถึงที่มาของรายสักกับอาการปวดเลยค่ะ เชื่อหรือไม่คะว่า รอยสัก = แผลเป็น ลึกหรือตื้น ขึ้นกับน้ำหนักของเข็มที่ลงไปแต่ละครั้งเลยค่ะ แต่แผลเป็นลักษณะนี้ เป็นแผลเป็นที่สวยงาม ไม่ใช่แผลเป็นที่เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุ การฉีกขาดแต่อย่างใด แต่แน่นอนความสวยงามนี้มาพร้อมกับความเจ็บปวด แต่ในบางรายก็พบว่ารอยสักไม่ส่งผลกับการทำงานของร่างกายนะคะ อันนี้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเลย
Neurokinetic Therapy (NKT) เหมาะกับใคร??
- นักกายภาพบำบัด (Physical Therapists)
- นักวิเคราะห์การเคลื่อนไหว (Movement Analysis)
- เทรนเนอร์ (Personal Trainers)
- ครูสอนโยคะ/พิลาทิส (Yoga/Pilates Instructors)
- ไคโรแพคเตอร์ (Chiropractors)
- บุคคลอื่นๆ ที่ชื่นชอบการรักสุขภาพ การเคลื่อนไหว และการออกกำลังกาย (Others)
สนใจอย่างศึกษาเพิ่มเติม (Learn More)
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ผู้ที่สนใจอยากศึกษาเพิ่มเติม สามารถตามไปที่เว็บไซต์นี้ได้เลยค่ะ https://neurokinetictherapy.com/about-nkt-seminars/ เพื่อติดตามการเคลื่อนไหว เนื่องจากในช่วงสถานการ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างยากลำบาก อาจจะต้องรอกันหน่อยนะคะ
[No Sponser] บอกเลยว่าที่มาเขียน Blog วันนี้ ไม่ได้รับสปอนแต่อย่างใด แต่อยากมานำเสนอว่าสิ่งที่พวกเราได้ศึกษาเพิ่มเติมมาจากปริญญาตรีและประกาศนียบัตรบัณฑิต ทำให้พวกเราสามารถให้การตรวจประเมินและการรักษาคนไข้ได้อย่างเฉพาะจุดมากขึ้น ได้นำเสนอแนวคิดใหม่ๆ ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้อย่างเต็มที่ และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมถึงมาเขียน Blog ในวันนี้ค่า
Neurokinetic Therapy Certification
สามารถตรวจสอบของพวกเราได้ตามเว็บไซต์นี้ https://neurokinetictherapy.com/certified-practitioners/
- เวลาทำการ (Opening Hours)
ตั้งใจรักษ์ คลินิกกายภาพบำบัด
เปิดให้บริการรักษาทุกวัน (หยุดทุกวันพุธ)
ช่วงเวลา 9.00-18.00 น.
ติดต่อเรา (Contact Us)
- 222/5 ถนนพุทธมณฑลสาย 2 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10170
- 080-646-2559
- @tangchairak
- @tangchairak.official
- @tangchairak.official
- tangchairak@gmail.com