You are currently viewing เกณฑ์การวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

เกณฑ์การวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

🏋️‍♀️🏋️🏋️‍♂️ ว่ากันด้วยเรื่อง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
.
สวัสดี ท่านผู้ติดเพจ ตั้งใจรักษ์ คลินิกกายภาพบำบัด ทุกท่านค่า เรื่องราวที่น่าสนใจวันนี้ เกี่ยวกับเรื่องเกณฑ์การวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หลายท่านเคยได้ยิน ได้เห็น หรือได้ฟังกันว่า นักกายภาพบำบัดจะมีการประเมินความแข็งแรงกล้ามเนื้อ โดยที่เกณฑ์การวัดนั้นจะเป็นอย่างไร ลองมาอ่านกันค่า
.
เกณฑ์การวัดความแข็งแรงกล้ามเนื้อที่มานำเสนอในวันนี้ มีชื่อเรียกว่า MRC Scale หรือ The Medical Research Council Scale โดยเกณฑ์จะมีระดับตั้งแต่ 0 – 5 รายละเอียดมีดังต่อไปนี้
0️⃣ = ไม่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเลย
1️⃣ = มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ แต่ไม่เกิดการเคลื่อนไหว
2️⃣ = มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้น แต่ไม่สามารถต้านแรงโน้มถ่วงได้
3️⃣ = ต้านแรงโน้มถ่วงได้ แต่ไม่สามารถต้านแรงจากภายนอกได้
4️⃣ = ต้านแรงจากภายนอกได้บางส่วน
5️⃣ = ต้านแรงจากภายนอกได้ทั้งหมด
 
 
*โดยการตรวจประเมินวิธีการนี้ จำเป็นต้องตรวจไปทีละข้อต่อ เพื่อประเมินการทำงานของกลุ่มกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อต่อนั้นๆ
.
*หากเป็นบุคคลที่ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาอยู่แล้วการใช้เกณฑ์การวัดนี้ อาจจะไม่สามารถบ่งบอกได้ว่าความแข็งแรงที่มีอยู่อยู่ระดับใด เพราะเนื่องจากว่านักกีฬาสามารถต้านแรงภายนอก (ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ทั้งหมด) แต่แรงที่นักกีฬาต้องใช้ อาจจะมากกว่าแรงที่ใช้ตามปกตินั่นเองค่ะ
.
ดังนั้น MRC Scale เป็นเพียงหนึ่งในวิธีการประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแค่วิธีหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถนำมาประเมินประสิทธิภาพร่างกายได้ 100% นะคะ 😀
.
#กล้ามเนื้อ #ความแข็งแรงกล้ามเนื้อ #MRCScale #MusclePower
#tangchairak #อยากให้ทุกคนยิ้ม
#ตั้งใจรักษ์คลินิกกายภาพบำบัด #กายภาพบำบัด
____________________
สอบถามรายละเอียด
📲 Line official: @tangchairak
📞 Phone: 080-6462559
🌐 Website: tangchairak
🗺 Google Maps (https://goo.gl/maps/jLLnfKA38ckRKy71A)

Leave a Reply