☠️กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis)
.
สาเหตุเกิดจากการเสื่อม หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างที่กระดูกสันหลัง ไม่ว่าจะเป็นข้อต่อด้านข้างกระดูกสันหลัง (Facet Joint) หมอนรองกระดูกสันหลัง (Intervertebral disc) เอ็นเชื่อมกระดูกหย่อน ( Ligamentous Laxity ) และกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวไม่แข็งแรง (Core stabilizer weakness)
.
กระดูกสันหลังที่เคลื่อน อาจส่งผลต่อไขสันหลังและรากประสาท ทำให้เกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ หรือ อาการชาของรยางค์นั้น ๆ โดยร้อยละ 95 พบว่าจะเกิดในกระดูกสันหลังระดับเอว (L4-L5) พบเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
.
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด เช่น การขับรถนานมากกว่า 4 ชั่วโมง, การเดินนาน, อุบัติเหตุ, นักกีฬาที่ต้องการความยืดหยุ่นสูง เช่น ยิมนาสติก นักเต้น นักฟุตบอล เป็นต้น
.
กระดูกสันหลังเคลื่อนอาจทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาเรื่องการลุก-นั่ง การเดินนาน การเดินขึ้น-ลงบันได การเดินทางชัน ไม่สามารถทำได้สะดวกสบายเหมือนเดิม หากกระดูกสันหลังที่เคลื่อนไปรบกวนการทำงานของรากประสาท ก็จะทำให้เกิดาอาการชา หรือ กล้ามเนื้อขาอ่อนแรงตามมา
.
วิธีการดูแลตนเองเบื้องต้น
1. ออกกำลังกายกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวให้แข็งแรง อย่างสม่ำเสมอ
2. ควบคุมน้ำหนัก ดูแลเรื่องสารอาหารให้ครบ 5 หมู่
3. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ส่งผลทำให้กระดูกสันหลังทำงานหนัก
4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ และการเสพสารนิโคติน
.
และเมื่อพบเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ได้ยินเสียงที่กระดูกสันหลังขณะทำกิจกรรม ก้ม-เงย หรือได้รับแรงกระแทกรุนแรงที่บริเวณหลังล่าง-ก้น ควรรีบไปตรวจประเมินที่โรงพยาบาล เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุต่อไปนะคะ
.
ผู้เขียน:
กภ.ชัญญานุช ตั้งมโนสัมฤทธิ์
.
#กระดูกสันหลังเคลื่อน #กระดูกสันหลังหัก #spondylolisthesis
#tangchairak #อยากให้ทุกคนยิ้ม
#ตั้งใจรักษ์คลินิกกายภาพบำบัด #คลินิกกายภาพบำบัด
____________________
สอบถามรายละเอียด
📲 Line official: @tangchairak
📞 Phone: 080-6462559
🌐 Website: tangchairak
🗺 Google Maps (https://goo.gl/maps/jLLnfKA38ckRKy71A)