🦴 ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis)
จากข้อมูลเกี่ยวกับการสูบบุหรี่เป็นประจำ ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงภาวะ หรือโรคกระดูกพรุน วันนี้แอดมินจึงขอนำเสนอเกี่ยวกับ “โรคกระดูกพรุน” ให้ทราบกันว่า ใครบ้างที่เป็นผู้มีความเสี่ยงกลุ่มโรคเหล่านี้กันนะคะ
.
ผู้ที่มีความเสี่ยงได้แก่
1. ผู้หญิง มากกว่า ผู้ชาย
2. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ขึ้นไป
3. ผู้ที่สูบบุหรี่ เป็นประจำ
4. ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ หรือ ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาฟาอีนเกินขนาน เป็นประจำ
5. ผู้ที่มีกิจวัตรประจำวันน้อย (sedentary lifestyle)
6. ผู้ที่มีโครงสร้างร่างกายเล็ก (small body build)
7. มีประวัติครอบครัวทางสายเลือด เป็นโรคกระดูกพรุน
8. มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม เช่น อัมพฤกษ์, อัมพาตครึ่งซีก, มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว ฯลฯ
.
โดยส่วนใหญ่ จะพบผู้ที่มีโรคกระดูกพรุนในประเทศไทยที่บริเวณกระดูกสันหลังระดับล่าง (Lumbar Spine) อันดับหนึ่ง และรองลงมาคือบริเวณกระดูกคอของข้อสะโพก (femoral neck)
.
ซึ่งเมื่อกระดูกบาง เกิดการร้าวหรือหัก จะส่งผลทำให้ตั้งแต่คนไข้มีอาการเจ็บปวดระดับน้อย ไปจนถึงการบาดเจ็บระยะยาว นำไปสู่การผ่าตัดได้ แต่เมื่อคนไข้มีกระดูกบางการผ่าตัดจะมีอัตราความสำเร็จหรือ การฟื้นฟูโดยสมบูรณ์ลดน้อยลง อันเนื่องมาจากกระดูกบางและมีความแข็งแรงในการยึดติดของอุปกรณ์น้อยลงนั่นเอง
.
ดังนั้น หากไม่อยากอยู่ในความเสี่ยงนี้ เราควรหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ หรือขยับร่างกายบ่อยๆ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เราสามารถปรับในชีวิตประจำวันเราให้เหมาะสม เพื่อหากไกลโลกกระดูกพรุนกันนะคะ 😀
.
#กระดูกพรุน #osteoporosis
#tangchairak #อยากให้ทุกคนยิ้ม
#ตั้งใจรักษ์คลินิกกายภาพบำบัด #คลินิกกายภาพบำบัด
____________________
สอบถามรายละเอียด
Line official: @tangchairak
Phone: 080-6462559
Website: tangchairak
Google Maps (https://goo.gl/maps/jLLnfKA38ckRKy71A)