You are currently viewing เอ็นกล้ามเนื้อใช้เวลาฟื้นตัวนานแค่ไหน?

เอ็นกล้ามเนื้อใช้เวลาฟื้นตัวนานแค่ไหน?

⛳️เอ็นกล้ามเนื้อ นานเท่าไหร่ถึงหายสนิท?


สวัสดีค่า ผู้ติดตามเพจทุกท่าน วันนี้แอดมินขอนำเสนอภาคต่อของระยะเวลาการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อต่างๆ แล้วนะคะ ในวันนี้เราจะพูดกันถึงเรื่อง เอ็นกล้ามเนื้อกันค่ะ
.
Q: เอ็นกล้ามเนื้อคืออะไร??
A: เอ็นกล้ามเนื้อ คึอ เนื้อเยื่อสีขาวที่อยู่ระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูกค่ะ ถ้ายังนึกไม่ออกให้นึกถึงเอ็นแก้ว ที่เรานิยมทานในเมนูก๋วยเตี๋ยวเรือ โดยส่วนนี้จะมีเลือดเลี้ยงอยู่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับกล้ามเนื้อ ทำให้เนื้อเยื่อมีสีขาวค่ะ
.
การที่เลือดเลี้ยงอยู่น้อยนั่นหมายความว่า ระยะเวลาในการฟื้นตัวจะนานมากกว่ากล้ามเนื้อนะคะ เพราะเลือดมาเลี้ยงน้อย เท่ากับว่าการนำสารอาหารที่ดีเข้ามาได้น้อย และนำของเสียออกไปได้ยาก
.
โดยอัตราการสมานตัวของเอ็นกล้ามเนื้อ 3 สัปดาห์ ไปจนถึง มากกว่า 1 ปี ขึ้นกับความรุนแรงที่ได้รับการบาดเจ็บนะคะ
โดยช่วงเวลาฟื้นตัวจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะง่ายๆ ดังต่อไปนี้
1. เอ็นอักเสบ (Tendonitis): 3 – 7 สัปดาห์ มักเกิดจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ หรือ การทำกิจกรรมที่ไม่เคยทำมาก่อน เช่น อุ้มบุตรเป็นระยะเวลานาน, การกระโดดไกล, การสับเนื้อสัตว์ เป็นต้น
2. เอ็นอักเสบ-เสื่อม จากการใช้งานเลยเคยบาดเจ็บซ้ำๆ (Tendinosis): 3 – 6 เดือน การบาดเจ็บชนิดนี้ อาจหมายถึงเคยบาดเจ็บบริเวณเอ็นดังกล่าวมาก่อน แล้วเกิดการบาดเจ็บซ้ำโดยที่บริเวณนั้นอาจหายสนิทดี หรือยังไม่หายสนิทดีก็ได้ โดยมาจะพบว่ามีหินปูนมาเกาะร่วมด้วย เช่น เอ็นข้อศอกด้านนอก-ด้านในอักเสบ, เอ็นร้อยหวายอักเสบ, เอ็นหัวไหล่อักเสบจากการโดนกดทับเลยคือได้รับอุบัติเหตุ เป็นต้น
3. เอ็นฉีกขาด (Laceration): ระยะเวลาฟื้นตัวประมาณ 5 สัปดาห์ – 6 เดือน หรือมากกว่า 1 ปี เช่น เอ็นหัวไหล่ฉีกขาด เอ็นเข่าฉีกขาด โดยมากจะเกิดจากอุบัติเหตุ เป็นต้น
.
โดยสรุป การฟื้นตัวของเนื้อเยื่อต่างๆ ขึ้นกับความรุนแรงที่ได้รับบาดเจ็บ การจะตรวจวินิจฉัยว่ามีการบาดเจ็บเอ็นมากน้อยแค่ไหน ต้องอาศัยการตรวจพิเศษ เช่น Ultrasound imaging, MRI เป็นต้น X-RAY ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติของเอ็นได้เด่นชัดนะคะ
.
หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน สงสัยว่าเอ็นฉีกขาด แนะนำให้ประคบเย็น พยายามให้บริเวณที่บาดเจ็บอยู่นิ่ง และรีบส่งโรงพยาบาลที่ใกล้-สะดวกให้รวดเร็วที่สุดนะคะ
.
อ้างอิง
1. Denitsa Docheva, Sebastian A. Müller, Martin Majewski, Christopher H. Evans, Biologics for tendon repair, Advanced Drug Delivery Reviews,
Volume 84, 2015, Pages 222-239, ISSN 0169-409X, https://doi.org/10.1016/j.addr.2014.11.015. (https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0169409X14002786)
2. Thomopoulos, S., Parks, W. C., Rifkin, D. B., & Derwin, K. A. (2015). Mechanisms of tendon injury and repair. Journal of orthopaedic research : official publication of the Orthopaedic Research Society, 33(6), 832–839. https://doi.org/10.1002/jor.22806
.
#อยากให้ทุกคนยิ้ม
#tangchairak
#ตั้งใจรักษ์คลินิกกายภาพบำบัด
____________________
สอบถามรายละเอียด
📲 Line official: @tangchairak
📞 Phone: 080-6462559
🌐 Website: tangchairak
🗺 Google Maps (https://goo.gl/maps/jLLnfKA38ckRKy71A)

Leave a Reply