You are currently viewing ท่านอนแบบนี้ ปวดแน่!!

ท่านอนแบบนี้ ปวดแน่!!

ระวัง! นอนแบบนี้ปวดแน่ สวัสดีชาวเพจตั้งใจรักษ์ทุกท่านค่า ปกติชาวเพจทุกท่านนอนท่าไหนกันอยู่บ้างคะ วันนี้แอดมินจะยกตัวอย่างท่านอนที่อาจเสี่ยงทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อ-ข้อต่อมาให้ดูกันค่ะ
.
#ท่านอนหลังงอ(จม) ท่านอนนี้เหมาะสำหรับการนอนพักผ่อนเป็นระยะเวลาไม่นาน ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง เพื่อช่วยผ่อนคลายความล้าของกล้ามเนื้อหลัง-สะโพก-ขา แต่ไม่ควรนอนเป็นระยะเวลานานเพราะอาจก่อให้เกิดอาการปวดคอ ปวดหลังล่าง หรือปวดก้นกบได้ โดยอาการปวดคอมีสาเหตุเกิดจากเมื่อรอนอนผ่อนคลายจนกระทั่งอยู่ในช่วงหลับลึก กล้ามเนื้อคอจะไม่ได้ถูกสั่งควบคุมให้เกิดการทำงานทำให้ศรีษะอาจเอียงหรือตกไปตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งขอบ่า (ศรีษะไม่ได้อยู่บนหมอน) ซึ่งเป็นสาเหตุของคอเคล็ดนั่นเองค่ะ ส่วนอาการปวดหลังล่างและปวดก้นกบจะมีสาเหตุเกิดจากแนวกระดูกสันหลังโค้งงอ เกิดแรงกดทับเฉพาะที่ ทำให้เกิดอาการปวดข้อต่อหรือกล้ามเนื้อได้นั่นเอง ดังนั้น ท่านี้เหมาะสมสำหรับเป็นท่าพักผ่อนหย่อนใจตราบใดที่ยังไม่หลับ ก็ยังปลอดภัยนะค แต่ก็ไม่ควรอยู่ในท่านี้นาน
#ท่านอนหลังงอชันเข่า ท่านี้มีการชันเข่าขึ้นมาเพิ่ม มักพบการนอนท่านี้ในพนักงานออฟฟิศ หรือบุคคลที่ต้องใช้ Notebook-Tablet นั่นเอง โดยท่านี้นอกจากจะเสี่ยงปวดคอบ่า ปวดหลังล่าง ปวดก้นกบแล้ว เพิ่มเติมคืออาการปวดเข่าและน่องตึงนั่นเอง เช่นเดียวกันกับท่าแรกหากไม่ได้อยู่ในท่านี้นาน จะมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อน้อยลงค่ะ โดยขอออธิบายว่าสาเหตุที่ปวดเข่านั้นเกิดจากแรงตึงเครียด่ในท่างอเข่า ทำให้ลูกสะบ้ากดทับที่บริเวณกระดูกต้นขาเป็นระยะเวลานานทำให้เกิดอาการตึงปวดข้อเข่าได้ กล้ามเนื้อน่องที่ตึง อาจส่งผลต่ออาการปวดเอ็นร้อยหวายหรือเป็นปัจจัยให้เกิดปัญหารองช้ำในอนาคตได้ค่ะ
#ท่านอนตะแคงไม่มีหมอนข้าง ใครที่ไม่ชอบกอดหมอนข้างคงทราบดีว่า ท่านอนนี้แม้ว่าจะเป็นท่านอนหลับที่แสนสบายแต่เมื่อนอนไปนาน ๆ จะส่งผลทำให้เกิดอาการปวดเอ็นหัวไหล่ (ด้านที่อยู่กับเตียง) ปวดสะโพก (ข้างที่อยู่ด้านบน) และปวดเมื่อยหลังล่าง ท่านี้มักพบในผู้ที่มีปัญหานอนกรน หรือมีไขมันในช่องท้องเยอะ เพราะทำให้ป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจและรู้สึกผ่อนคลายบริเวณหลังล่างและขา แต่ในทางเดียวกันหากนอนตะแคงนาน ควรมีหมอนข้างเพื่อรองรับสรีะร่างกาย ไม่ให้เกิดการบิดหมุนจะปลอดภัยกับกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อของเราเพิ่มขึ้นค่า
.
โดยสรุป ท่านอนทุกท่ามีทั้งข้อดี-ข้อเสียต่างกัน ไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถนอนท่าเหล่านี้ได้อีกเลยนะคะ แต่ควรสลับสับเปลี่ยนท่านอน และหากจำเป็นต้องนั่งอ่านหนังสือ นั่งทำงาน ควรเปลี่ยนอิริยบถให้บ่อยขึ้น เพื่อรองรับกับการทำงานและป้องกันอาการปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นนะคะ

Leave a Reply