You are currently viewing รองช้ำนี้อีกนาน (Plantarfasciitis)

รองช้ำนี้อีกนาน (Plantarfasciitis)

รองช้ำคืออะไร?

    อาการปวดฝ่าเท้า หรือ ส้นเท้า เรียกว่า Plantarfasciitis พบมากในคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่า เท้าแบน หรือ อุ้งเท้ายกตัวสูง อาการปวดมักเป็นเรื้อรัง ปวดมากในตอนเช้า ขยับสักพัก อาการถึงดีขึ้น 

อุ้งเท้าแบน เกิดได้อย่างไร?

    ก่อนจะรู้จักอุ้งเท้าแบน ให้รู้จักอุ้งเท้าเรากันก่อนนะครับ อุ้งเท้าเราปกติ เกิดจากธรรมชาติของสรีระร่างกายของเราครับ หรือเรียกว่า Windlass Effect โดยผังผืดใต้ฝ่าเท้า จะตึงตัวขึ้น เพื่อยกให้อุ้งเท้าสูงขึ้นขณะเดิน ทำให้ไม่เกิดการบาดเจ็บบริเวณใต้อุ้งเท้า 

    แต่ปัจจุบัน การสวมใส่รองเท้าหน้าแคบ หรือรองเท้าที่มีส้น จะช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้มากขึ้น จึงทำให้ผังผืดใต้ฝ่าเท้านี้ เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย เมื่อเกิดการบาดเจ็บ+น้ำหนักตัว ทำให้อาการเจ็บแย่ลงกว่าเดิมครับ

https://www.foot-ankle-surgeon.co.uk/

 

 

โดยการเคลื่อนไหวของข้อเท้า จะประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ ครับ

  1. กล้ามเนื้อน่อง (Calf muscle) เป็นกล้ามเนื้อหลักสำคัญในการเดิน เพื่อช่วยในการเพิ่มความเร็ว และสปริงตัวออก
  2. กล้ามเนื้ออุ้งเท้า (Intrinsic foot muscle) กล้ามเนื้อใต้อุ้งเท้าขนาดเล็ก ทำหน้าที่ช่วยกันกับผังผืดใต้ฝ่าเท้า เพื่อประคองไม่ให้อุ้งเท้าตกลงมา 
  3. กล้ามเนื้อยกข้อเท้า (Ankle dorsiflexor) ทำหน้าที่ยกข้อเท้าขึ้น เพื่อให้สามารถก้าวพ้นพื้นได้
  4. กล้ามเนื้อหมุนข้อเท้า (Ankle eversor/inversor) ช่วยทำให้เรากำหนดทิศทางในการเดินส่วนหนึ่ง

ถ้ามีกล้ามเนื้อที่ทำงานไม่สมดุลเกิดขึ้น จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้ามเนื้อน่องที่ทำงานมากเกินไป เอ็นร้อยหวายที่เป็นส่วนหนึ่งของน่องจะมีความตึงตัวมาก มากจนกระทั่งไปดึงกระดูกส้นเท้าให้เลื่อนออกมาทางด้านหลัง จนทำให้ผังผืดใต้ฝ่าเท้าเกิดการฉีกขาดได้

บริเวณที่จะเกิดอาการบาดเจ็บ

สรีระร่างกาย ที่ส่งผลต่อ "รองช้ำ"

1. กล้ามเนื้อกลุ่มทางด้านหลังมีความตึงตัวสูง

เช่น กล้ามเนื้อน่อง (Calf muscle) และกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (Hamstring muscle) ทำให้ศูนย์กลางแรงโน้มถ่วง ไปตกอยู่บริเวณกลางฝ่าเท้าพอดี ทำให้อุ้งเท้าลดลง และเกิดอาการบาดเจ็บขณะเดินได้

2. การลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้า 

การลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้า ในแต่ละจะไม่สมดุลกัน ไม่ว่าจะนิ้วก้อยเท้า นิ้วหัวแม่เท้า และส้นเท้า โดยส่วนมากผู้ที่มีปัญหาเจ็บส้นเท้า มักเดินลงน้ำหนักส่วนใหญ่ที่บริเวณส้นเท้า เดินเสียงดัง หรือเดินลากขา ทำให้เกิดรองช้ำได้

 

วิเคราะห์การลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้า (Foot analysis) 

     จะสังเกตุเห็นว่า เราจะสามารถแบ่งการลงน้ำหนักของฝ่าเท้าได้ออกเป็น 3 จุดใหญ่ๆ ตามภาพครับ คือบริเวณหัวแม่เท้า ก้อยเท้า และส้นเท้า

   รอยการลงน้ำหนัก บริเวณที่เกิดหนังแข็ง จะมีขนาดไล่ๆ กันตามภาพนะครับ ทีนี้ มีเพิ่มเติมมาคือบริเวณนิ้วขี้และนิ้วกลาง อันนี้เกิดจากการใส่รองเท้าแต่ และกล้ามเนื้อในอุ้งเท้าไม่แข็งแรงทำให้เกิดรอยหนังแข็งเหล่านี้ขึ้นมาได้ 

    การแก้เรื่องหนังแข็งสามารถทำได้โดยการซื้อกระดาษทรายมาขัดบริเวณหนังแข็งใต้ฝ่าเท้า จะช่วยทำให้ผิวเท้านุ่มดีขึ้น และควรออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างให้อุ้งเท้าเราแข็งแรงมากยิ่งขึ้นด้วยครับผม

การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ ทำอย่างไร?

แล้วถ้าทำแล้วไม่หาย กายภาพช่วยได้ไหม????

Shockwave Therapy สามารถบรรเทาอาการปวดได้ เป็นเครื่องมือที่ผลิตมาเพื่อตอบโจทย์ในการรักษารองช้ำโดยเฉพาะ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
โทร : 
080-6462559
FB : ตั้งใจรักษ์ คลินิกกายภาพบำบัด

Leave a Reply