หลายคนเวลาเกิดอาการบาดเจ็บรีบร้อนอยากหายไว ๆ แต่บุคคลากรทางการแพทย์บอกว่าให้พักการใช้งานก่อนอาจจะรู้สึกไม่พอใจ ไม่สบายตัวใช่ไหมคะ แต่อันที่จริงแล้วเหตุผลที่ต้องให้พักสาเหตุก็เพราะว่า ร่างกายเรามีกระบวนการสมานแผลที่ซับซ้อนและหลายขั้นตอน
.
โดยความสำคัญของการพักนั้น จะทำให้ลดอัตราเสี่ยงการบาดเจ็บซ้ำ ลดอัตราเสี่ยงเซลล์เนื้อเยื่อไม่แข็งแรง และเพิ่มโอกาสในการกลับไปใช้งานได้ปกติอีกด้วย ทีนี้กระบวนการสมานแผลของเราเป็นอย่างไรบ้างลองมาอ่านกันค่ะ
.
กระบวนการสมานแผลและการดูแลแต่ละระยะของการสมานแผลมีอะไรบ้าง
(ในที่นี้ขออธิบายโดยรวมไม่แบ่งแยกเนื้อเยื่อก่อนนะคะ)
ระยะที่ 1 ระยะห้ามเลือด หลอดเลือดจะหดตัวมีการส่งสารเคมีมาบริเวณนี้จำนวนมาก ผู้ป่วยไม่ควรเคลื่อนไหวบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
ระยะที่ 2 ระยะอักเสบ มีอาการปวดมาก เริ่มเคลื่อนไหวได้โดยไม่มีน้ำหนัก องศาการเคลื่อนไหวขึ้นกับความรุนแรงของการบาดเจ็บ
ระยะที่ 3 ระยะการเพิ่มจำนวนเซลล์ เคลื่อนไหวได้โดยมีน้ำหนักบางส่วน ควรเคลื่อนไหวได้เต็มช่วง
ระยะที่ 4 ขั้นตอนสุดท้ายระยะการเจริญเต็มที่ เคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงปกติ
*ในกรณีกระดูกหัก การพักฟื้นหลังผ่าตัด กระบวนการทั้งหมดนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปขึ้นกับปัจจัยแต่ละบุคคล
หากการฟื้นตัวไม่เป็นไปตามกระบวนการดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำ เช่น กระดูกหักที่ได้รับการรักษาไม่เหมาะสม จะทำให้กระดูกไม่เชื่อมติดกัน ทำให้ต้องใส่เฝือกต่อเพื่อรอการฟื้นตัว เป็นต้น
ส่วนระยะเวลาในการพักฟื้น จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ โดยจะแบ่งย่อยเป็นหัวข้อใหญ่ได้ 2 หัวข้อ คือ Minor และ Major (ตัวอย่างดังภาพ)
.